23.2.12

บทที่ 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์คืออะไร?
        คอมพิวเตอร์ หรือในภาษาไทยที่เรียกว่าคณิตกรณ์ .เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมา เพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานตามชุดคำสั่งอย่างอัตโนมัติ โดยจะทำการคำนวณเปรียบเทียบ ทางตรรกะกับข้อมูล และให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ โดยมนุษย์ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในการประมวลผล




ภาพแสดงวงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
รูปประกอบ : http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ86WPN7z2UoZmq7EKKBH8pD9nelkUuVsg4sdinSt-SjlVnlmz7_vKg7sXOYg




อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)


ภาพประกอบ : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/28/tgv/images/s1.jpg


 ส่วนประมวลผลกลาง (Processing) หรือ ซีพียู (central processing unit: CPU)
ของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ


-      หน่วยคำนวณ (arithmetic and logic unit) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้น การคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุม


-      หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน


ส่วนความจำ (Memory Storage) มี 2ประเภท คือ


-       หน่วยความจำหลัก (primary storage) หรือ หน่วยความจำภายใน (internal memory) จะอยู่ภายในเครื่อง เป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูล(data) และชุดคำสั่ง (instruction) มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาเพื่อนำไปประมวลผล หน่วยความจำส่วนนี้เรียกว่า ที่เก็บข้อมูล (Input Storage Area) เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย หน่วยความจำส่วนนี้เรียกว่า ที่เก็บข้อมูลขณะดำเนินการ(Working Storage Area)  เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย เรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่า ที่เก็บผลลัพธ์ (Output Storage Area) และเก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผล เรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่า ที่เก็บโปรแกรม (Program Storage Area)


-      หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage) ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่ออยู่กับหน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาทีเช่น แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) จานแม่เหล็ก (Hard disk)แผ่นซีดี (CD Rom) เป็นต้น


ส่วนแสดงผล (Output)
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-      หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บ ข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่จอภาพ (Monitor), อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector),อุปกรณ์เสียง (Audio Output)
-      หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer), เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) เป็นต้น


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
—งานธุรกิจ - ใช้ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม
งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข  - ใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน
งานคมนาคมและสื่อสาร - ใช้ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้
—งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม - ใช้ออกแบบหรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่ดินไหว
งานราชการ - มีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้น
การศึกษา  - นำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด


ประเภทของคอมพิวเตอร์
แบ่งตามลักษณะของข้อมูลได้ 3 ประเภท
        1. อนาล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่ใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ผลคำนวณที่ได้นั้นมีความละเอียดน้อย เหมาะสำหรับการคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่อยู่ในรูปสมการ คณิตศาสตร์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การวัดค่าความสั่นสะเทือน การทำแบบจำลองการบิน
        2. ดิจิตัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับ ตัวเลข มีหลักการคำนวณแบบลูกคิด จะแสดงผลเป็นหลักเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัว คือ 0 และ 1 มีความสามารถในการคำนวณ และมีความแม่นยำมากกว่าอนาล็อกคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้สื่อในการบันทึกข้อมูล เช่น จานแม่เหล็ก และเทปแม่เหล็ก
        3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน มีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากมีการนำเทคนิคการทำงานของอนาล็อกคอมพิวเตอร์ และดิจิตัลคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกัน เช่น การส่งยานอวกาศขององค์การนาซ่า จะใช้เทคนิคของอนาล็อกคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเร็ว และใช้เทคนิคของดิจิตัลคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางจากพื้นผิวโลก


แบ่งตามสมรรถนะ ขนาดและราคา ได้ 4 ประเภท


ภาพซูเปอร์คอมพิวเตอร์
ภาพประกอบ : http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2011/06/r_10021.jpg

        1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมหาศาลให้เสร็จภายในระยะเวลาอัน สั้น สามารถรองรับการใช้งานจากผู้ใช้จำนวนมากพร้อมๆกันได้ เรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) จึงนิยมใช้กับงานคำนวณที่ซับซ้อน เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอากาศ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมัน เป็นต้น


ภาพเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
ภาพประกอบ : http://www.thaigoodview.com/files/u1239/mainframe_20computer.jpg
         2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีความเร็วในการประมวลผลสูงรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีจำนวนหน่วยประมวลผลที่น้อยกว่า ระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องเมนเฟรมส่วนมากจะมีระบบคอมพิวเตอร์ย่อยๆประกอบ อยู่ด้วย มีราคาแพงมาก ใช้กับองค์กรใหญ่ๆทั่วไป เช่น ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ การควบคุมระบบเครือข่าย การพัฒนาระบบ งานด้านธุรกิจ ธนาคาร งานสำมะโนประชากร งานสายการบิน งานประกันชีวิต และมหาวิทยาลัย เป็นต้น




         3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกลางทำงานได้ช้ากว่าเครื่องเมนเฟรม รวมทั้งสื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุน้อยกว่าเมนเฟรม จึงเหมาะกับองค์กรขนาดกลางเพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก เหมาะกับการทำงานเฉพาะด้าน เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น


        4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูก เรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer : PC) เครื่องไมโครระดับสูงในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสามารถใช้งานโดยใช้คนเดียว (Stand-alone) หรือเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเพื่อติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ PC สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ได้ทั่วโลก เหมาะกับงานทั่วไป เช่น การประมวลผลคำ (Word Processing) การคำนวณ (Spreadsheet) การบัญชี (Accounting) และงานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล เป็นต้น       


แบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้


ภาพคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
ภาพประกอบ : http://s.exaidea.com/upload/1/20110523/35ae7d7564d95c245a87a42d7f347562.jpg
         - คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีรูปแบบพื้นฐานเหมาะสำหรับตั้งโต๊ะทำงานทั่วไป และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
 ภาพโน้ตบุคคอมพิวเตอร์
ภาพประกอบ : http://vaio.sony.co.th/contents/guru/gallery/1300449450vaio_c_series.jpg
        - โน้ตบุคคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา ประมาณ 2 – 4 กิโลกรัม และบางกว่าแบบตั้งโต๊ะสามารถพกพาไปยังสถานที่ต่างๆได้สะดวก



ภาพประกอบ : http://lh4.ggpht.com/_lUXeJR9f4Yk/S2CV74TYBzI/AAAAAAAADRE/CIILgUbKEN4/ipad_hero_20100127.jpg


        - คอมแทบเลท (Tablet computer) มีลักษณะคล้ายโน้ตบุค คือมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีความบาง สามารถเคลื่อนย้ายพกพาได้สะดวก แต่จะแตกต่างกันที่ แทบเลทสามารถป้อนข้อมูลทางจอภาพได้ตามเทคโนโลยีของผู้ผลิต
ภาพประกอบ : http://images.samsungparty.com/images/94791489064927776062.png


        - คอมพิวเตอร์พกพา (Handheld computer ) มีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือและใช้อีกมือถือปากกาที่เรียกว่า สไตล์ลัส (Stylus) เขียนข้อความบนจอเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องด้วยเทคโนโลยีรับรู้ลายมือ (Handwriting recognition) พกพาสะดวก สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มาก

20.2.12

แนะนำตัวครับ




      ชื่อ-นามสกุล : ก้องภพ จรูญพงศ์ ชื่อเล่น ปอนด์ 
      รหัสนิสิต : 54105010018
      ปัจจุบัน : คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
      เกิด : วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2535
      เลือดกรุ๊ป : โอ
      สีตา : น้ำตาล
      สีที่ชอบ : ขาว, ดำ, ฟ้า
      แนวเพลงที่ชอบ : ป๊อป
      หนังที่ชอบดู : แนวสยองขวัญ ตลก
      นักแสดงต่างประเทศที่ชื่นชอบ : Amanda Seyfried 
      สัตว์เลี้ยงที่ชอบ : แมว  
      กีฬาที่ชอบ : ว่ายน้ำ
      อุปนิสัย : ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ เป็นคนตรง ไม่ชอบการดูถูกเหยียดหยาม
      คติในการทำงาน : ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด