16.11.13

คุณยังโชคดี

              ในครั้งนี้ผมจะนำเสนอเรื่องราว ของการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต และที่ผมหยิบยกเรื่องราวนี้ขึ้นมาพูดนั้น ก็เพราะว่าผมก็ซื้อสินค้าจากเว็บไซท์นี้เช่นกัน ทำให้ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องใกล้ตัวผมมากๆ เลยอยากจะแบ่งปันเรื่องราวนี้ให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจตามมามากมายโดยไม่รู้ตัว

               เรื่องราวทั้งหมดผมได้นำมาจากเว็บบอร์ด freemac.net ซึ่งเป็นเว็บบอร์ดของกลุ่มผู้ใช้งาน Mac โดยเนื้อหาพูดถึงผู้เสียหาย ไม่สิ น่าจะเรียกว่าผู้ที่เกือบจะเสียหายมากกว่า เพราะเขาไหวตัวได้ทัน ซึ่งเรื่องราวก็คือ มีเมล์จาก Apple เข้ามา บอกว่าให้คุณเอ(นามสมมุติ) อัพเดทข้อมูลของคุณ ซึ่งคุณเออยู่ในระหว่างการรอสถานะการสั่งซื้อสินค้าจาก Apple ทำให้คุณเอคลิ๊กเข้าไปดู ภายในเว็บก็เป็นหน้าการใส่ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ แต่ที่สำคัญเลย คือการให้ใส่ข้อมูลบัตรเครดิต เรื่องราวเพิ่มเติม
อีเมล์ที่ถูกปลอมแปลง

               คุณเอก้เริ่มเอะใจเลยสังเกต URL ก็พบว่ามีความผิดปกติ จึงรู้ตัวแล้วว่ากำลังโดยฟิชชิ่งเมล์(Phishing mail) ทีนี้หลายคนคงจะสงสัยรวมทั้งผมด้วยว่าฟิชชิ่งเมล์ มันคืออะไร ?
URL ที่ผิดปกติ
URL ที่ถูกต้อง

               “Phishing คือคำที่ใช้เรียกเทคนิคการหลอกลวงโดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือสร้างความเสียหายในด้านอื่น ๆ เช่น ด้านการเงิน เป็นต้น ในบทความนี้จะเน้นในเรื่องของ Phishing ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลอกลวงทางการเงิน เนื่องจากจะทำให้ผู้อ่านมองเห็นผลกระทบได้ง่าย คำว่า Phishing เป็นคำพ้องเสียงจากคำว่า Fishing ซึ่งหมายถึงการตกปลา หากจะเปรียบเทียบง่าย ๆ ผู้อ่านสามารถจินตนาการได้ว่า เหยื่อล่อที่ใช้ในการตกปลา ก็คือกลวิธีที่ผู้โจมตีใช้ในการหลอกลวงผู้เสียหาย ซึ่งเหยื่อล่อที่เด่น ๆ ในการหลอกลวงแบบ Phishing มักจะเป็นการปลอมอีเมล์ หรือปลอมหน้าเว็บไซต์ที่มีข้อความซึ่งทำให้ผู้เสียหายอ่านแล้วหลงเชื่อ” 

              เมื่อรู้แล้วว่าฟิชชิ่งเมล์คืออะไร ก็เป็นสิ่งที่ค่อนข้างหน้าเป็นห่วง เพราะการจะจับตัวคนร้ายบนโลกออนไลน์เป็นไปได้ยากมากๆ เพราะอาชญากรอาจจะอยู่มุมใดของโลกก็ได้ หรือย้ายฐานไปไหนก็ได้เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว และในเวลานี้การซื้อสินค้าออนไลน์ถือว่ากำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว และบางครั้งราคาก็ถูกกว่า ทำให้การเลือกซื้อสินค้าออนไลน์เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

              ซึ่งในครั้งนี้คุณเอ(นามสมมุติ) ยังโชคดีมากที่ไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเรียกได้ว่าอาชญากรคอมพิวเตอร์ได้เลยทีเดียว เพราะอาชญากรตั้งใจที่จะปลอมแปลงหน้าเว็บไซท์ Apple (ยอมรับว่าปลอมแปลงได้อย่างแนบเนียนมาก) เพื่อที่จะล้วงข้อมูลบัตรเครดิต ไปใช้ในการขโมยเงิน หรือนำไปกระทำความผิดอื่นๆ จนทำให้เหยื่อเสียหาย แต่ด้วยความช่างสังเกต ทำให้คุณเอรอดมาได้ แต่ถ้าหากลองนึกไปดูว่า ถ้าคุณเอไม่รู้เรื่องราวเหล่านี้มาก่อนเลย เห็นแค่ว่ามีอีเมล์จาก Apple เข้ามา แล้วใส่ข้อมูลในทุกช่องที่มีให้ใส่ ความเสียหายจะตามเข้ามามากขนาดไหน เพราะไม่ใช่แค่คุณเอจะเสียเงิน อาชญากรอาจจะแอบใส่ไวรัสแฝงเข้ามาด้วย ทำให้ข้อมูลเสียหาย ซึ่งข้อมูลนั้นอาจจะมีคุณค่ามากกว่าเงินก็เป็นได้

               ฉะนั้นแล้วผู้ที่จะซื้อสินค้าออนไลน์จึงควรตระหนักและคิดให้มากๆ เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของอาชญากรได้ง่ายๆ ซึ่งมีข้อแนะนำต่อไปนี้ ที่จะสามารถลดโอกาสไม่ให้ผู้อ่านถูกหลอกลวงได้ 

1.ไม่เปิดลิงก์ที่แนบมาในอีเมล เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะถูกหลอกลวง เพราะบางครั้งลิงก์ที่มองเห็นในอีเมลว่าเป็นเว็บไซต์ของธนาคาร แต่เมื่อคลิกไปแล้วอาจจะไปที่เว็บไซต์ปลอมที่เตรียมไว้ก็เป็นได้ เนื่องจากในการสร้างลิงก์นั้นสามารถกำหนดให้แสดงข้อความหรือรูปภาพได้ตามต้องการ ดังนั้นบางเว็บไซต์ปลอมจึงทำ URL ให้สังเกตความแตกต่างจาก URL จริงได้ยากง

2.พึงระวังอีเมลที่ขอให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะหากเป็นอีเมลที่มาจากสถาบันการเงิน ทั้งนี้ธนาคารหลายแห่งได้แจ้งอย่างชัดเจนว่า ธนาคารไม่มีนโยบายในการขอให้ลูกค้าเปิดเผยเลขประจำตัว หรือข้อมูลที่มีความสำคัญอื่น ๆ ผ่านทางอีเมลโดยเด็ดขาด

3.ไม่เปิดลิงก์ที่แนบมาในอีเมล เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้โจมตีมีเทคนิคมากมายในการปลอมชื่อผู้ส่งให้เหมือนมาจากองค์กรนั้นจริง ๆ หากต้องการเข้าใช้งานเว็บไซต์นั้น ขอให้พิมพ์ URL ด้วยตัวเอง

4.สังเกตให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ที่ใช้งานเป็น HTTPS ก่อนให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น เลขบัตรเครดิต หรืออื่น ๆ

5.ลบอีเมลน่าสงสัยออกไป เพื่อไม่ให้พลั้งเผลอกดเปิดครั้งถัดไป

6.ติดตั้งโปรแกรม Anti-Virus, Anti-Spam และ Firewall เนื่องจากผลพลอยได้อย่างหนึ่งของการติดตั้ง Firewall คือสามารถทำการยับยั้งไม่ให้โทรจันแอบส่งข้อมูลออกไปจากระบบได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้ควรหมั่นศึกษาและอัพเดทโปรแกรมดังกล่าวให้เป็นรุ่นปัจจุบันเสมอ


7.หากท่านผู้อ่านพบเห็นเว็บไซต์หลอกลวงซึ่งมีจุดประสงค์ในการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล สามารถแจ้งเหตุภัยคุกคามได้ที่เจ้าของบริการเหล่านั้น หรือส่งอีเมลมาที่ report@thaicert.or.th ตลอด 24 ชั่วโมงหรือโทร 02-142-2483 ในเวลา 8.30-17.30 ทุกวันทำการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) :https://www.thaicert.or.th

20.9.13

สื่อนี้มีดีอย่างไร


              วีดิทัศน์แนะนำสื่อการเรียนรายบุคคล ที่ผมผลิตขึ้นเองและแนะนำเอง จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยครับ หากมีข้อเสนอแนะหรือติชมผมยินดีรับฟัง และจะนำกลับไปแก้ไข ขอบคุณครับ

7.9.13

ฝึกงานในแบบศึกษาเทคโน

เมื่อวันอังคารที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้รับมอบหมายงานให้ไปฝึกงานเพื่อเรียนรู้การจัดการการบริหารงานในสำนักสื่อที่ให้บริการด้านการศึกษา โดยในวันนั้นได้ไปที่สำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มศว ที่ตึกไข่ดาว
        วันนั้นภายในกลุ่มผมก็มาถึงกันประมาณแปดโมงครึ่ง และเริ่มฝึกงานกันตอนเก้าโมง เริ่มต้นพี่ๆ ในสำนักสื่อก็ได้เล่าถึงหน้าที่ในการทำงานว่ามีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการห้องเรียน การเตรียมอุปกรณ์ทางการเรียน การจัดซื้อสื่อหรืออุปกรณ์ วิธีการใช้สื่อ วิธีการทำงานของกล้องวงจรปิด พอพี่เล่าไปได้สักพักไฟก็ดับ ทุกคนตกใจมาก เลยรีบหาสาเหตุ ปรากฏว่าดับมาจากภายนอก ทำให้พวกเราได้รับมอบหมายงานให้ไปแจ้งกับแต่ละห้องเรียนที่กำลังเรียนอยู่ พร้อมทั้งเปิดม่านและเปิดหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศ ทำให้ผมได้เห็นการแก้ปัญหาของที่นี่ หลังจากนั้นเมื่อไฟมา พี่ๆ ก็ให้พวกเราไปตรวจเช็คแต่ละห้องเรียน พร้อมทั้งปิดม่าน ปิดหน้าต่าง เมื่อเสร็จแล้วพวกพี่ก็บอกให้เราไปพัก พวกเราก็งงว่าทำไมให้ไปพักไวจัง พี่สำนักสื่อก็บอกว่า เราต้องมาเตรียมงานก่อนเที่ยง เพื่อเตรียมห้องเรียนให้กับผู้เรียนที่จะเข้ามาเรียนในตอนบ่ายโมงครึ่ง พวกเราก็คลายความสงสัย หลังจานั้นพวกเราก็แยกย้ายกันไปทานข้าว กลับมาในช่วงบ่าย เราก็ได้ไปตรวจเช็คความพร้อมของห้องเรียนอีกครั้ง เมื่อตรวจเช็คเสร็จทุกคนก็ได้มาที่ห้องควบคุม พวกพี่เค้าก็ให้เราดูการควบคุมระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรเจคเตอร์ คอมพิวเตอร์ หากเกิดปัญหาภายในห้องเรียน โดยที่ไม่ต้องเดินไปที่ห้องเรียน หลังจากนั้นเราได้ไปดูห้องเรียนทางไกล ที่ถ่ายสดจาก มศว ประสานมิตร ไปยัง มศว องครักษ์ และไปยังที่อื่นๆ โดยเราได้เห็นการควบคุมการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นเปิดรายการ ตั้งแต่การตัดต่อ การใส่กราฟิก การใส่เสียง การสวิชชิ่ง แล้วพี่ๆ ก็ให้พวกเราลองเปิดรายการกันดู ปรากฏว่ามันไม่ใช่ง่ายๆ เลย ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ ทำให้เราเห็นถึงการทำงานที่เป็นระบบและตรงเวลา 




        และในวันที่สองพวกเราได้ไปฝึกงานที่โรงละครอโศกมนตรีนาฏยศาลา มศว ในเวลาสี่โมงเย็น เพื่อดูการทำงานด้านการฉายภาพยนตร์ เพราะในวันนั้นเป็นวันที่ฉายภาพยนตร์เพื่อแรงบันดาลใจ ในชื่อเรื่อง The blind side โดยพี่ๆ ได้แบ่งเราเป็นสองทีม ทีมแรกอยู่ในห้องควบคุม ทีมที่สองจะอยู่ด้านล่างในโรงภาพยนตร์เพื่อเช็คภาพและเสียง โดยผมได้อยู่ข้างล่าง พร้อมทั้งต้องลองนั่งดูหนังในทุกๆ จุด เพื่อเช็คความคมชัดของภาพและเสียงว่าชัดเจนดีมั้ย แล้วจะได้แจ้งขึ้นไปยังห้องควบคุม ให้ปรับให้มีคุณภาพดีขึ้น พร้อมทั้งปล่อยคนเข้ามาในโรงภาพยนตร์



        จะเห็นได้ว่าทั้งสองสถานที่ที่ผมได้ไปฝึก ทำให้ผมได้เห็นถึงความตรงต่อเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการทำงานด้านนี้จะต้องคอยให้บริการสื่อแก่บุคลากร ซึ่งบุคคลากรต้องนำสื่อตรงนั้นไปทำงานต่อทำให้ความตรงเวลาสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเกิดช้าที่คนให้บริการสื่อ ก็จะช้ากันไปเป็นทอดๆ จนเป็นผลเสียถึงผู้เรียนในทันที และอีกอย่างก็คือความรับผิดชอบในการทำงาน ในหน้าที่ของตนเอง เพราะงานด้านนี้ ทุกหน้าที่สำคัญหมด ทำให้ความรับผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหน้าที่ใดเกิดบกพร่องขึ้นมา องค์กรก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จตามพันธกิจที่ตั้งไว้

6.9.13

ศึกษาเทคโน เค้าเรียนอะไรกัน

เมื่อวันที่ 15-16 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดนิทรรศการของเอกที่ผมเรียนอยู่ขึ้น ซึ่งนั่นก็คือ เอกเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ในชื่อว่า “Techno Showcase ก้าวล้ำนำการศึกษาจัดบริเวณลานชั้น 1 อาคารนวัตกรรมศาสตราจารย์ดร.สาโรช บัวศรี หรืออาคาร 400 ล้าน มศว ประสานมิตร


ภายในงานแบ่งเป็นบูท คล้ายจัดแสดงสินค้า โดยจะแบ่งเป็นด้านนอกอาคารกับในอาคาร ด้านนอกอาคารจะจัดแบ่งเป็นรูปตัว U มีบูทต่างๆ ดังนี้ AROUND THE WORLD (โซเชียลกับการศึกษา)   AWAY SO FAR (การศึกษาทางไกล)   DO YOU HEAR ME? (วิทยุเพื่อการศึกษา)  READ ME PLEASE (สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา)   X- PLORING TECH FOR FUN (เกมส์เพื่อการศึกษา) และ   TECH FOR TEACH (สื่อการสอนเพื่อการศึกษา) ส่วนด้านในอาคารจะเป็นการจัดแสดงของบูท   SEE SNAP (ภาพถ่ายเพื่อการศึกษา) และ NOW YOU SEE ME (โทรทัศน์เพื่อการศึกษา)


ที่นี้ลองไปดูกันแต่ละบูทเลยดีกว่า บูทแรก AWAY SO FAR (การศึกษาทางไกล) บูทนี้เป็นบูทที่กล่าวถึงการศึกษาทางไกลว่าใช้วิธีการใดบ้างไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต ดาวเทียมหรือใยแก้วนำแสง ว่าแต่ละอย่างมีหน้าที่การทำงานอย่างไร โดยนำเสนอผ่านแบบจำลองโมเดล ทำให้เห็นภาพได้อย่างเข้าใจง่ายที่สุด อีกทั้งยังมีคอมพิวเตอร์ที่ไว้ให้ลองดูการถ่ายทอด จากวังไกลกังวนอีกด้วย นับว่าเป็นการนำเสนอได้เห็นภาพชัดเจนที่สุด ทำให้เราเข้าใจและรู้สึกสนุกไปกับมัน


บูทที่สองคือบูท DO YOU HEAR ME? (วิทยุเพื่อการศึกษา) บูทนี้ได้กล่าวถึงการใช้วิทยุในการเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอน ซึ่งเราได้เห็นที่มาในสมัยก่อนว่าเค้าก็มีการเรียนผ่านทางวิทยุกันนะ ส่วนในสมัยนี้ก็อาจจะเป็นการจัดรายการเล็กๆ นำเสนอความรู้ โดยภายในบูทได้มีเครื่องบันทึกเสียงให้ได้ลองเล่นกัน ทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของการศึกษา และการศึกษาก็มีอยู่รอบด้านในทุกๆ สื่อ 


บูทที่สามคือบูท TECH FOR TEACH (สื่อการสอนเพื่อการศึกษา) เป็นบูทที่นำเสนอสื่อต่างๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน โดยเป็นผลผลิตจากนิสิตเอกนี้ โดยสื่อต่างๆ มีความหลากหลายและทำให้เราได้เห็นการผลิตสื่อแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ประเภทของสื่อที่เหมาะสม การใช้สื่อ การเก็บรักษาสื่อ การให้บริการสื่อ นับว่าเป็นประโยชน์มากมายเลยทีเดียว  


บูทที่สี่คือบูท AROUND THE WORLD (โซเชียลกับการศึกษา) บูทนี้นำเสนอการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ค ทวีตเตอร์ ยูทูป บล็อก มาใช้เป็นสื่อกลางในการนำเสนอความรู้ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นช่องที่ง่าย รวดเร็ว และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ทำให้การศึกษาไม่ไกลตัวอีกต่อไป


บูทที่ห้าคือ บูท READ ME PLEASE (สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา) บูทนี้จะเป็นบูทที่จัดแสดงการทำสื่อประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร การ์ตูน วารสาร ว่ามีที่มา วิธีการทำอย่างไร พร้อมแบ่งจำแนกแต่ละประเภท โดยมีเกมส์ให้เล่นโดยการจัดวางหน้าปกนิตยสารตามแบบของฉันทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการทำงาน ด้านสิ่งพิมพ์ เป็นอย่างดี


บูทที่หกคือ บูท X- PLORING TECH FOR FUN (เกมส์เพื่อการศึกษา) บูทนี้เป็นบูทที่สนุกมากๆ เพราะจะมีเกมส์ให้เล่น แต่ก็ก็ไม่ใช่สนุกเพียงอย่างเดียวเพราะทุกๆ เกมส์จะมีความรู้ที่ทำให้เราได้รับไปพร้อมๆ กับความสนุกสนานโดยไม่รู้ตัว


บูทที่เจ็ดคือ  SEE SNAP (ภาพถ่ายเพื่อการศึกษา) เป็นบูทที่นำเสนอการถ่ายภาพ โดยจัดเป็นสตูดิโอเล็กๆ ให้ได้ลองถ่ายและให้เป็นแบบ พร้อมรุ่นพี่คอยให้คำแนะนำในการถ่าย การจัดแสงไฟ หรือองค์ประกอบต่างๆให้ออกมาสวยงามที่สุด


บูทที่แปดคือ NOW YOU SEE ME (โทรทัศน์เพื่อการศึกษา) เป็นบูทที่นำเสนอการจัดรายการโทรทัศน์ โดยมีอุปกรณ์ต่างๆ ครบให้ได้ลอง ไม่ว่าจะเป็นการลองอ่านข่าว ลองแสดงรายการ พร้อมถ่ายทอดไปยังด้านหน้าทำให้การใช้สื่ออย่างโทรทัศน์เป็นไปด้วยความสนุกสนาน และได้รู้หลักการทำงานต่างๆ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เพราะงานด้านโทรทัศน์กว่าจะถ่ายทอดออกมาดีๆ นั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
หลังจากที่ได้ชมภายในงานมาทำให้ผมมองเห็นเอกที่ผมเรียนอยู่ไปอีกมุมหนึ่ง ว่ามันไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าเอกอื่นเลยอาจจะกล่าวได้เลยว่า เอกอื่นอ่านจะเก่งเพียงด้านเดียว แต่เอกเราเป็นเอกที่เก่งรอบด้าน 

29.6.13

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นยังไงหว่า ?



           สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดเป็นหน่วยงานหนึ่งภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งขึ้นกับรองอธิปดีฝ่ายวิชาการ โดยโครงสร้างบริหารงานในแบบ Line Organization หรือสายงานหลัก ซึ่งจะมีประโยชน์ตรงที่ง่ายต่อการจัดการ โดยโครงสร้างการบังคับบัญชาจะถูกถ่ายทอดจากระดับบนสู่ระดับล่าง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เข้าใจง่าย มีขอบข่ายชัดเจน ทำให้อำนาจหน้าที่เป็นไปตามความเหมาะสมและความต้องการขององค์กร ซึ่งส่งผลให้สามารถดำเนินงานไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะอำนาจการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารเพียงไม่กี่คน แต่ก็ต้องแลกกับตำแหน่งหัวหน้างานต้องทำงานหนักและรับผิดชอบในหลายๆ ฝ่าย และหากฝ่ายผู้บริหารติดภารกิจ อาจทำให้เกิดปัญหาได้
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ปัจจุบันมี การบริหารงานตามโครงสร้าง 3 ส่วนงาน ดังนี้
·         หอสมุดกลาง
             จะให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีบริการสืบค้นฐานข้อมูลบรรณานุกรมของหอสมุดกลาง (รายการออนไลน์/OPAC) บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าบริการสืบค้นสารนิเทศจากฐานข้อมูล (ฐานข้อมูลออนไลน์และฐานข้อมูลซีดีรอม) บริการอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย และบริการพิมพ์งาน

·         ศูนย์คอมพิวเตอร์
             จะให้บริการห้องบริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต  ห้องอบรมสัมมนาทางด้านคอมพิวเตอร์ งานบริการเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต งานฝึกอบรมและบริการวิชาการ  งานสื่อการเรียนการสอน (E-Learning) จัดอบรมด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้กับอาจารย์และบุคคลที่สนใจและรวบรวมผลงานเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และงานพัฒนาเว็บไซต์

·         ศูนย์ภาษา
               จะให้บริการอบรมภาษาต่างประเทศให้แก่นักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ในมหาวิทยาลัย งานบริการอบรมภาษาต่างประเทศแก่บุคคลทั่วไป งานพัฒนาการเรียนการสอนด้านภาษาต่างประเทศ บริการด้านการแปลหนังสือราชการ แผ่นพับประชาสัมพันธ์ ให้กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย บริการคู่มือเตรียมสอบ TOEFL, IELTS และ TOEIC พร้อมเทปและซีดี บริการฝึกทักษะด้านภาษาจากซีดี วีดีโอและเทป บริการฝึกทักษะด้านการอ่านแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่าน SRA บริการเรื่องสั้น (Graded series) นวนิยาย บริการหนังสืออ่านเสริมเพื่อพัฒนาภาษาต่างประเทศ และบริการภาพยนตร์ต่างประเทศ (Sound track)
จะเห็นได้ว่าสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีมีหน้าที่ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของ หน่วยงาน คือหอสมุดกลาง ศูนย์คอมพิวเตอร์และศูนย์ภาษา เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งสามศูนย์ไม่เพียงมุ่งเน้นแต่บุคลาการภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่หากเปิดให้บริการกับบุคลากรภายนอกอีกด้วย
อีกทั้งยังมีบริการส่งเสริมด้านวิชาการหรือจัดอบรมแกบุคลากรทั้งในและนอกในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ และเรื่องภาษา อาจจะต่างจากบางที่ ที่จะแยกกันบริหารและฝ่ายเทคโนโลยีก็จะรับผิดชอบเพียงแต่ เทคโนโลยีสารสนเทศ โสตวัสดุ หรือการจัดทำสื่อภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น
ปรัชญา
แหล่งการเรียนรู้ ควบคู่ภาษา เทคโนโลยีก้าวหน้า พัฒนาสังคม

วิสัยทัศน์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้และบริการที่เป็นเลิศแห่งภูมิภาค

พันธกิจ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานให้บริการและสนับสนุนทางวิชาการ
ส่งเสริม พัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ภาษา และเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์
1.      เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการสารนิเทศสำหรับการเรียนการสอน การวิจัย และผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษาในการสื่อสารสู่มาตรฐานสากล
2.      เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบเครือข่ายและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการและงานบริการวิชาการ
3.      เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ
ขอขอบคุณ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
อาคารทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 272 หมู่ 9 ถนนสุราษฏร์-นาสาร ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100 โทรศัพท์ โทรสาร 0-7722-6004  เว็ปไซท์ http://arit.sru.ac.th

4.2.13

การทำงานสื่อสิ่งพิมพ์


       สื่อสิ่งพิมพ์ที่ผมได้ทำในครั้งนี้เป็นสื่อการสอนรายบุคคล สำหรับสอนนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ในเรื่อง การเลือกซื้ออาหาร โดยแบ่งเป็นหัวข้อคือ การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ การเลือกซื้อผัก การเลือกซื้อผลไม้ และการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง โดยตั้งชื่อสื่อเล่มนี้ว่า หนูน้อยจ่ายตลาดซึ่งผมได้พูดถึงขั้นตอนการเตรียมงานไปในบล็อกที่แล้ว

       ในขั้นนี้จะพูดถึงขั้นการลงมือทำ ซึ่งหลังจากที่ผมได้มีแผนในการทำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ตหรือหนังสือ ก็จะพบหลักการเลือกซื้ออาหาร ผมก็นำมากลั่นกรองและเรียบเรียงใหม่ ให้เป็นคำพูดที่เข้าใจได้ง่าย โดยจะคำนึงถึงวัยของเด็กเป็นหลัก
ขณะทำงาน (รกไปหน่อย)

       หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่คัดเลือกเรียบร้อยแล้วมาจัดเรียบเรียงใน Microsoft Publisher โดยลองเริ่มทำบทแรกคือการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ ให้เสร็จพร้อมหน้าปก ให้เป็นแนวทางสำหรับบทต่อๆ ไป และปริ้นเอ้าท์ไปให้อาจารย์ได้ลองตรวจและให้คำแนะนำว่าเราขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หลังจากนั้นจึงนำกลับมาแก้ไขตามที่อาจารย์บอก
บทแรก การเลือกซื้อเนื้อสัตว์

       เมื่อแก้ไขเสร็จสิ้นจึงเริ่มทำบทต่อๆไปให้เนื้อหาเสร็จก่อน หลังจากนั้นจึงเริ่มลงแบบฝึกหัด เมื่อเสร็จจึงเริ่มทำปกหลัง จากนั้นจึงเช็คเนื้อหาว่าจะเพิ่มเติมตรงไหนหรือแก้ไขยังไง พร้อมตรวจดูคำผิด หลังจากนั้นจึงเริ่มดูแบบกางสองหน้า เสมือนหนังสือก็จะทำให้รู้ว่าควรวางหน้ายังไง ต่อไปก็คือเริ่มรันเลขหน้า และลองเช็คแต่ละหน้าไปด้วย ก็เสร็จ

       เมื่อเสร็จแล้วจึงเซฟไฟล์เป็นพีดีเอฟเพื่อความเป็นสากล อ่านได้ทุกเครื่อง แล้วก็นำไปโรงพิมพ์ แล้วก็ รอ รอ และรอ ก็จะได้สื่อการสอนรายบุคคล หนูน้อยจ่ายตลาดจุดพลุ ฉลอง
ใบมัดจำของโรงพิมพ์

       การที่ได้ทำสื่อชิ้นนี้ทำให้ผมรู้จักการมองคน มองถึงความต้องการว่าเค้าต้องการอะไร อะไรเหมาะสมกับเขา การใช้คำพูด หรือการคิดข้อสอบ ก็ต้องคำนึงถึงวัย ซึ่งก็คือการสอนรอยบุคคล เพื่อความเหมาะสมและการเรียนรู้จะได้สำเร็จลุล่วง

ตามรอยการทำงานของผมกันครับ

ตามรอยการทำงานของผมกันครับ
      สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาเล่าถึงการทำงานของผมครับ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง และที่สำคัญคือได้รับอะไรจากสิ่งที่ทำ

       การทำงาน ล้วนแต่ต้องมีการวางแผน เพราะแผนก็เหมือนเป็นกรอบที่ช่วยล้อมรอบให้เราไม่ออกนอกประเด็นหรือเรื่องราวที่เราทำ อีกทั้งยังเป็นที่นำทางให้เราไปสู่จุดสำเร็จเหมือน GPS ไงครับ

      ภาพยนตร์กับการเป็นครู
      งานชิ้นนี้เมื่อพวกเราได้รับมอบหมายมาแล้ว ผม จ๋าและพร มองหน้ากันครับ หน้าทุกคนเต็มไปด้วยความสงสัย เพราะไม่มีใครเคยดู และได้ยินชื่อเรื่องภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นครั้งแรก นั่นก็คือเรื่อง GoodWill Hunting ซึ่งอาจารย์ได้ให้พวกเราไปดูและวิเคราะห์ถึงหลักการสอนของเขาออกมา พร้อมนำเสนอเพื่อนๆ หน้าชั้นเรียน
ใบปิดหนังเรื่อง Good Will Hunting

       เริ่มแรกเราก็ต้องนั่งปรึกษากันเลยครับว่าเอาไงดี ผมเลยเสนอไปว่าไปหาดูมาก่อนละกันแล้วค่อยมาคุยกัน แล้วจ๋าก็เสนอว่าเดี๋ยวเราสร้างกรุ๊ปในเฟสบุ๊คมั้ย จะได้ติดต่อกันสะดวก เวลาแชร์ฟงแชร์ไฟล์ก็ง่าย ผมนึกขอบคุณเฟสบุ๊คที่ทำให้คนอยู่ห่างกันได้อยู่ใกล้กันมากขึ้น
ภาพแสดงการสร้างกลุ่มในเฟสบุ๊ค

       หลังจากเราดูหนังเสร็จเราก็เริ่มแชร์เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับลงในเฟสบุ๊ค แล้วเราก็เริ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน จากนั้นเราจึงนำข้อมูลดิบที่ได้มาวางแผนกระจายงานกัน จ๋าจะเป็นคนทำพาวเว่อพ้อย พรจะเป็นผู้จัดการเรียบเรียงข้อมูล ส่วนผมจะเป็นคนคัดเลือกวิดีโอแล้วนำมาตัดต่อ
เว็ปไซท์ที่พวกเราใช้ดูหนัง
พวกคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน


       เมื่อได้รับงานผมก็กลับมาดูหนังอีกครั้งพร้อมกับดูข้อมูลที่จะใช้นำเสนอ แล้วผมก็คัดเลือกตอนออกมา ว่าจะเอาตอนไหนนำเสนอบ้าง จนครบ ผมก็จัดแจงหาไฟล์ของหนังบนอินเตอร์เน็ต (ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ดีเลย ขอโทษครับ) ซึ่งจริงๆก็มีอยู่ในเว็บหนึ่งที่ใช้ดูอยู่แล้ว แต่ไม่ชัดเอาซะเลย จนผมไปพบไฟล์หนังความชัดระดับHD ผมจึงโหลดมา แล้วทำการตัดต่อตอนที่เลือกไว้ แต่ดันมีเฉพาะภาษาอังกฤษ ทำไงดีหละทีนี้ เพื่อนๆ จะเข้าใจมั้ย ผมจึงคิดถึงการทำซับไตเติ้ล ผมก็ลองค้นวิธีทำ แต่ทำไม่ได้วุ่นวายเข้าใจยากจนตอนนั้นท้อแท้มากเลยคิดว่า ไม่ทำละดูแบบภาษาอังกฤษไปละกัน จนผมนึกขึ้นได้ผมยังไม่เข้าใจแล้วเพื่อนๆจะเข้าใจได้ยังไงกัน ผมคิดว่าก็คงจะเหมือนการสอนรายบุคคลหละมั้ง ที่ต้องคำนึงถึงผู้เรียนบลา บลา บลา เอาวะเลยใส่พากย์ไทยจากไฟล์หนังที่ไม่ชัดเลยละกัน โดยการดึงเสียงออกมาใช้ ก็เป็นอันเสร็จ
ตัดต่อตอนที่เลือกเรียบร้อยแล้ว

       หลังจากทุกคนทำงานเสร็จแล้ว จ๋าก็อัพไฟล์พาวเว่อพ้อยขึ้นบนเฟสบุ๊ค ผมก็ดูว่าควรจะเอาคลิปไหนใส่ช่วงไหน หลังจากนั้นเราจึงแบ่งหน้าที่กันพรีเซ้นว่าใครจะพรีเซ้นช่วงไหนกันบ้าง เมื่อแบ่งเสร็จทุกคนก็นำไปซ้อมในส่วนของแต่ละคน จนถึงวันพรีเซ้นก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการครับ

       จากที่ผมได้ทำงานชิ้นนี้ทำให้ผมได้รู้จักการวางแผนที่ดี รู้จักการนำโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คมาใช้ ได้ดูหนังสนุกๆ แถมยังได้ข้อคิดจากความเป็นครู เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การเข้าหาผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนไว้ใจ และเปิดรับเรื่องที่จะสอน รู้จักการแก้ปัญหาของการทำงาน รู้สึกว่าจะตัดต่อวิดีโอคล่องขึ้น(มั้ง) แต่ก็ยังมีข้อผิดพลาดให้แก้ไขเยอะเหมือนกันครับ

       งานเขียนบล็อก
       งานเขียนบล็อกเป็นงานที่ต้องใช้ความคิด การวิเคราะห์ และการคำนึงถึงผู้อ่าน ต้องใช้ความคิดว่าต้องทำอย่างไรให้น่าสนใจ ไม่ว่าจะด้วยการตกแต่ง การวางเลย์เอ้าท์ให้สวยงาม ซึ่งทั้งหมดนี้ผมทำไม่เป็นเลย จึงจะเห็นได้ว่าบล็อกของผมจะดูเรียบ ตัวหนังสือใหญ่ อ่านง่าย ซึ่งผมก็คิดว่าความเรียบง่ายหรือความคลาสสิกเป็นอะไรที่ลงตัวที่สุดแล้ว
หน้าบล็อคแสดงถึงความเป็นสัดส่วนเรียบง่าย

       เมื่อผมได้รับหัวข้อมา ผมก็ต้องนำมาวิเคราะห์ ว่าโจทย์ต้องการอะไรแล้วจึงค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หลังจากนั้นจึงนำมารวบรวมประมวลผล ลงไปในโปรแกรมMicrosoft Word เพื่อเป็นการร่างอย่างคร่าวๆ
ร่างลงไปใน Microsoft Word

       หลังจากลองร่างดูแล้วก็ถึงการขัดเกลาเนื้อหาให้อ่านง่าย และทำการเช็คตัวอักษรว่ามีผิดหรือไม่ เมื่อเช็คว่าถูกต้องดีแล้ว จึงลองค้นหาภาพที่ตรงกับเนื้อหามาสอดแทรก เพื่อเป็นการเบรกสายตาให้กับผู้อ่าน หลังจากนั้นจึงอ่านทวนอีกครั้งพร้อมเช็คย่อหน้า เว้นวรรค
หารูปมาใส่ เช็คย่อหน้า เว้นวรรค คำผิด

       เมื่อเนื้อหาที่ทำในโปรแกรม Microsoft Word เสร็จแล้วผมก็จัดการคัดลอกจากโปรแกรมมาลงบล็อก แล้วลองให้เว็ปไซท์ทดลองเผยแพร่ดูว่ามีตัวอักษรใดตกหล่นหรือซ้อนทับกันหรือไม่ หากมีก็จะแก้ไขอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงกดเซฟและก็เผยแพร่ก็เป็นอันเสร็จ

       จากที่ผมได้ทำงานเขียนบล็อก ทำให้ผมได้รู้จักการคิด การวิเคราะห์ และการเอาใจใส่กับงาน ว่าเราต้องคำนึงถึงหลายๆจุด เพราะเราต้องเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้อ่าน ทำให้มีความรอบคอบขึ้น และจะรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้เห็นฟีดแบคกลับมาจากยอดวิวที่บล็อกรวบรวมเป็นสถิติมาให้

6.1.13

กระบวนการขั้นตอนการผลิตสื่อดิจิตอล


ในครั้งนี้เราจะนำสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีรายละเอียดอยู่ในบล็อกที่แล้ว มาจัดการเรียบเรียงใหม่ โดยอาจจะเพิ่มมัลติมีเดียเข้าไปมากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้เกิดความน่าสนใจและทำเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
อันดับแรก เราต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่เราจะทำ นั่นก็คือการสื่อในเรื่อง ความรู้พื้นฐานในการทำอาหารหรือ Basic Cooking สำหรับไว้ใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เด็กวัยนี้แน่นอนต้องเน้นหนักไปทางภาพ เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการที่ชัดเจนและเข้าถึงได้ง่าย ต่อมาเราก็จะต้องวางโครงเรื่องหรือการกันการนอกเรื่อง เพื่อจำกัดกรอบของเนื้อหาให้ชัดเจน ซึ่งเรื่องที่จะทำก็มีดังต่อไปนี้ หลักการทำครัว อาหารหลัก 5 หมู่ การเลือกวัตถุดิบ การเตรียมอาหาร การปรุงอาหารด้วยวิธีต่างๆ และสิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้ในการประกอบอาหาร
ต่อมาก็คือการวางรูปแบบของเนื้อหาว่าจะนำเสนออย่างไร ซึ่งก็คือการวางโครง ว่าแต่ละหน้าจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งเราก็ได้กำหนดไว้ดังนี้
1.    ทักทาย ใส่ชื่อล็อคอิน
2.    คำนำที่อธิบายสื่อ
3.    เนื้อหา
4.    แบบทดสอบ
5.    เนื้อหา
6.    แบบทดสอบ
7.   
8.    สรุปผลคะแนนพร้อมอธิบายรายละเอียด
9.    อ้างอิง
สำหรับขั้นตอนสุดท้ายก็คือการลงมือปฏิบัติ โดยการใช้คลิปวีดิโอ เสียงบรรยายประกอบมาเพิ่ม โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์มาเป็นรูปแบบหลักในการทำ แล้วเราก็จะสร้างสื่อดิจิตอลโดยใช้โปรแกรม Adobe Captivate ที่จะช่วยให้การสร้างเป็นผลมากขึ้นเพราะโปรแกรมสามารถใส่ไฟล์มัลติมีเดียได้หลากหลาย ทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป


3.1.13

กระบวนการขั้นตอนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

หลังจากที่เราได้วิเคราะห์สื่อไปใน บล็อกที่แล้ว ในครั้งนี้เราก็จะมาทำให้เป็นรูปเป็นร่างกัน โดยเราจะมาดูกระบวนการ ขั้นตอน วิธีที่ใช้ในการออกแบบสื่อ ซึ่งนั่นก็คือสื่อสิ่งพิมพ์
“สื่อสิ่งพิมพ์ คือ สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆ ด้วยวิธีการต่างๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้ผู้อื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่างๆ”
อันดับแรก เราต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่เราจะทำ นั่นก็คือการสื่อในเรื่อง ความรู้พื้นฐานในการทำอาหารหรือ Basic Cooking สำหรับไว้ใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เด็กวัยนี้แน่นอนต้องเน้นหนักไปทางภาพ เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการที่ชัดเจนและเข้าถึงได้ง่าย ต่อมาเราก็จะต้องวางโครงเรื่องหรือการกันการนอกเรื่อง เพื่อจำกัดกรอบของเนื้อหาให้ชัดเจน ซึ่งเรื่องที่จะทำก็มีดังต่อไปนี้ หลักการทำครัว อาหารหลัก 5 หมู่ การเลือกวัตถุดิบ การเตรียมอาหาร การปรุงอาหารด้วยวิธีต่างๆ และสิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้ในการประกอบอาหาร
ต่อมาก็คือการวางรูปแบบของเนื้อหาว่าจะนำเสนออย่างไร ซึ่งก็คือการวางโครง ว่าแต่ละหน้าจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งเราก็ได้กำหนดไว้ดังนี้
1.    ปก
2.    คำนำที่อธิบายสื่อ
3.    เนื้อหา
4.    แบบทดสอบ
5.    เนื้อหา
6.    แบบทดสอบ
7.   
8.    เฉลยแบบทดสอบ
9.    อ้างอิง
สำหรับขั้นตอนสุดท้ายก็คือการลงมือปฏิบัติ จะต้องเริ่มจากการหาข้อมูล รูปภาพประกอบ จากนั้นจึงนำมาคัดเลือก โดยการสร้างไว้ในโปรแกรม Microsoft Office Word เพื่อลองจัดเรียงข้อความ หน้า และการสะกดคำ หลังจากนั้นจึงนำมาจัดรูปเล่มบนโปรแกรม Microsoft Office Publisher เมื่อจัดรูปเล่มเสร็จรูปเล่มเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องตรวจทานให้มั่นใจว่าไม่ผิดพลาด จึงนำไปส่งโรงพิมพ์ เป็นอันเสร็จการทำสื่อสิ่งพิมพ์ครับ