6.1.13

กระบวนการขั้นตอนการผลิตสื่อดิจิตอล


ในครั้งนี้เราจะนำสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีรายละเอียดอยู่ในบล็อกที่แล้ว มาจัดการเรียบเรียงใหม่ โดยอาจจะเพิ่มมัลติมีเดียเข้าไปมากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้เกิดความน่าสนใจและทำเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
อันดับแรก เราต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่เราจะทำ นั่นก็คือการสื่อในเรื่อง ความรู้พื้นฐานในการทำอาหารหรือ Basic Cooking สำหรับไว้ใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เด็กวัยนี้แน่นอนต้องเน้นหนักไปทางภาพ เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการที่ชัดเจนและเข้าถึงได้ง่าย ต่อมาเราก็จะต้องวางโครงเรื่องหรือการกันการนอกเรื่อง เพื่อจำกัดกรอบของเนื้อหาให้ชัดเจน ซึ่งเรื่องที่จะทำก็มีดังต่อไปนี้ หลักการทำครัว อาหารหลัก 5 หมู่ การเลือกวัตถุดิบ การเตรียมอาหาร การปรุงอาหารด้วยวิธีต่างๆ และสิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้ในการประกอบอาหาร
ต่อมาก็คือการวางรูปแบบของเนื้อหาว่าจะนำเสนออย่างไร ซึ่งก็คือการวางโครง ว่าแต่ละหน้าจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งเราก็ได้กำหนดไว้ดังนี้
1.    ทักทาย ใส่ชื่อล็อคอิน
2.    คำนำที่อธิบายสื่อ
3.    เนื้อหา
4.    แบบทดสอบ
5.    เนื้อหา
6.    แบบทดสอบ
7.   
8.    สรุปผลคะแนนพร้อมอธิบายรายละเอียด
9.    อ้างอิง
สำหรับขั้นตอนสุดท้ายก็คือการลงมือปฏิบัติ โดยการใช้คลิปวีดิโอ เสียงบรรยายประกอบมาเพิ่ม โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์มาเป็นรูปแบบหลักในการทำ แล้วเราก็จะสร้างสื่อดิจิตอลโดยใช้โปรแกรม Adobe Captivate ที่จะช่วยให้การสร้างเป็นผลมากขึ้นเพราะโปรแกรมสามารถใส่ไฟล์มัลติมีเดียได้หลากหลาย ทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป


3.1.13

กระบวนการขั้นตอนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

หลังจากที่เราได้วิเคราะห์สื่อไปใน บล็อกที่แล้ว ในครั้งนี้เราก็จะมาทำให้เป็นรูปเป็นร่างกัน โดยเราจะมาดูกระบวนการ ขั้นตอน วิธีที่ใช้ในการออกแบบสื่อ ซึ่งนั่นก็คือสื่อสิ่งพิมพ์
“สื่อสิ่งพิมพ์ คือ สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆ ด้วยวิธีการต่างๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้ผู้อื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่างๆ”
อันดับแรก เราต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่เราจะทำ นั่นก็คือการสื่อในเรื่อง ความรู้พื้นฐานในการทำอาหารหรือ Basic Cooking สำหรับไว้ใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เด็กวัยนี้แน่นอนต้องเน้นหนักไปทางภาพ เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการที่ชัดเจนและเข้าถึงได้ง่าย ต่อมาเราก็จะต้องวางโครงเรื่องหรือการกันการนอกเรื่อง เพื่อจำกัดกรอบของเนื้อหาให้ชัดเจน ซึ่งเรื่องที่จะทำก็มีดังต่อไปนี้ หลักการทำครัว อาหารหลัก 5 หมู่ การเลือกวัตถุดิบ การเตรียมอาหาร การปรุงอาหารด้วยวิธีต่างๆ และสิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้ในการประกอบอาหาร
ต่อมาก็คือการวางรูปแบบของเนื้อหาว่าจะนำเสนออย่างไร ซึ่งก็คือการวางโครง ว่าแต่ละหน้าจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งเราก็ได้กำหนดไว้ดังนี้
1.    ปก
2.    คำนำที่อธิบายสื่อ
3.    เนื้อหา
4.    แบบทดสอบ
5.    เนื้อหา
6.    แบบทดสอบ
7.   
8.    เฉลยแบบทดสอบ
9.    อ้างอิง
สำหรับขั้นตอนสุดท้ายก็คือการลงมือปฏิบัติ จะต้องเริ่มจากการหาข้อมูล รูปภาพประกอบ จากนั้นจึงนำมาคัดเลือก โดยการสร้างไว้ในโปรแกรม Microsoft Office Word เพื่อลองจัดเรียงข้อความ หน้า และการสะกดคำ หลังจากนั้นจึงนำมาจัดรูปเล่มบนโปรแกรม Microsoft Office Publisher เมื่อจัดรูปเล่มเสร็จรูปเล่มเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องตรวจทานให้มั่นใจว่าไม่ผิดพลาด จึงนำไปส่งโรงพิมพ์ เป็นอันเสร็จการทำสื่อสิ่งพิมพ์ครับ


นำสมาร์ตโฟนมาเรียนกันเถอะ


แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เรื่อง วาดภาพจากจินตนการโดยการใช้โปรแกรมกราฟิกบนสมาร์ตโฟน 1 คาบเรียน

ความคิดรวบยอด
สร้างภาพหรือชิ้นงานจากจากจินตนาการ โดยใช้โปรแกรมกราฟิกด้วยความรับผิดชอบ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในแอพลิเคชั่นวาดภาพ (S Note) บนสมาร์ตโฟน และสามารถใช้เครื่องมือต่างๆอย่างถูกต้อง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1 สามารถนำความคิดหรือจินตนาการ ออกมานำเสนอให้ทุกคนเห็นภาพได้
2 สามารถใช้แอพลิเคชั่นได้
3 สามารถส่งงานได้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด

สาระการเรียนรู้
1 การใช้แอพลิเคชั่น S Note บนสมาร์ตโฟน
2 สามารถแนบไฟล์ส่งผ่านทางอีเมล์ได้

กิจกรรมการเรียนการสอน
1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                   1.1 นำเสนอรูปภาพจากการใช้แอพลิเคชั่นให้นักเรียนเห็น ผ่านทางโปรเจ็คเตอร์
    
2 ขั้นสอน
2.1 สาธิตการใช้งาน โดยการวาดรูปบนสมาร์ตโฟนให้นักเรียนเห็น
                    2.2 สอนวิธีการแนบไฟล์พร้อมส่งอีเมล์เข้าเครื่องอาจารย์
                    2.3 มอบหมายงาน โดยแจกสมาร์ตโฟนคนละ1เครื่อง โดยให้นักเรียนสร้างรูปภาพจากจินตนาการ โดยใช้แอพลิเคชั่น S Note
                    2.4 บอกเกณฑ์การประเมิณว่า จะมาจากความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ และการตรงต่อเวลา โดยความสวยงามจะมาจากการตัดสินของนักเรียนเอง
                    2.5 หลังจากสร้างเสร็จ ให้ส่งผ่านทางอีเมล์เข้ามาที่อีเมล์อาจารย์
                    2.6 กำหนดระยะเวลา โดยให้เวลา 30 นาที
3 ขั้นสรุป
                    3.1 อาจารย์จะนำรูปที่นักเรียนส่งมา ฉายขึ้นโปรเจ็คเตอร์ เพื่อให้นักเรียนเลือกรูปภาพสวยงามที่สุด จำนวน 3 ภาพ พร้อมแจกรางวัลเป็นขนม

สื่อการเรียนรู้
1 สมาร์ตโฟน
2 อีเมล์

การวัดและประเมินผล
1 สังเกตพฤติกรรมการใช้งานแอพลิเคชั่น
2 สามารถนำเสนออกมาได้อย่างหน้าสนใจ
3 สามารถส่งงานได้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด

วิดีโอตัวอย่างการใช้งานกับเด็กๆ