26.3.12

บทที่ 2 : บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการศึกษา



บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการศึกษา   

               เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกในการศึกษา ในระยะปลายทศวรรษที่ 1950 ซึ่งในขณะนั้นมหาวิทยาลัยใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานด้านบริหาร เช่น ด้านการบัญชีและการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน ปี ค.ศ.1960 มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้ทำการศึกษาวิจัยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน การวิจัยเรื่องหนึ่ง ได้แก่ โครงการเพลโต (PLATO) ที่ศึกษาการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมกัน โดยมีศูนย์กลางใหญ่เก็บข้อมูลไว้และมีสาขา (terminals) แยกออกมากมาย ในกลางทศวรรษที่ 1970ได้มีบริษัทคอมพิวเตอร์ 3 บริษัทพยายามคิดค้นประดิษฐ์ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นและประสบผลสำเร็จใน ปี ค.ศ.1977 นับเป็นการนำไปสู่การปฏิวัติในการใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา สถาบันการศึกษาในระดับโรงเรียนทั้งระดับประถมมัธยมและมหาวิทยาลัยก็ได้มีการ นำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้กันอย่างกว้างขวาง (Alessi and Trollip 1985 : 47-50 )        
                ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ อันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้นการเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ในยุคนี้ทุกคน ด้วยประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก สามารถวิเคราะห์และคำนวณได้โดยอัตโนมัติอย่างแมนยำ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายจนกลายเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่ กว้างขวาง และสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทุกมุมโลก ทำให้ข้อจำกัดทางด้านสภาพภูมิศาสตร์และด้านเวลาหมดไป ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงานในด้านต่างๆ ทางการศึกษาอย่างมากมาย        จากสารานุกรมศัพท์การศึกษาและจิตวิทยา สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ให้ความหมายของคำว่า คอมพิวเตอร์กับการศึกษา (Educational Computer) หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยงานหลัก 3ระบบ คือ งานบริหารการศึกษา งานบริการการศึกษา และงานด้านการเรียนการสอน แต่ด้วยการพัฒนาทั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบ ตลอดจนโปรแกรมต่างๆอย่างมากมาย ทำให้การใช้งานง่าย มีความหลากหลายสนองความต้องการของผู้ใช้ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายโยงใยไปทั่วโลก ทำให้สามารถติดต่อสื่อสาร เกิดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้อย่างขว้าง และพัฒนาจนสามรถจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายได้ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น

บทบาทคอมพิวเตอร์ด้านการบริหารการศึกษา
                สถาบันการศึกษาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการบริหาร เช่น งานบริการศึกษา งานคลังและพัสดุ งานวิเคราะห์นโยบายและแผน และงานบริหารทั่วไป เป็นต้น เพื่อช่วยงานการประมวลผลข้อมูลต่างๆ อาทิเช่น การทำทะเบียนประวัติของครู นักเรียน และเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน การจ่ายเงินเดือนครู และเจ้าหน้าที่ การพิมพ์ ใบแจ้งผลการเรียน การจัดตารางสอน ตารางสอบ การจัดเก็บรายรับ-รายจ่ายงบประมาณ และข้อมูลวัสดุ ครุภัณฑ์ ตลอดจนทรัพย์สินของสถานศึกษา ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยผู้บริหารในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการเตรียมข้อมูล ประมวลผล และนำเสนอ เพื่อช่วยตัดสินใจ การแก้ปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วยในงานการพิมพ์ทั่วไป เช่น การออกจดหมาย รายงานการประชุม จดหมายข่าวเป็นต้น

งานด้านการบริการการศึกษางานห้องสมุด (Library Application)
     ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการห้องสมุด เช่น การค้นหนังสือแทนการใช้บัตรรายการ เป็นต้น

งานทดสอบ (Testing Application)
     ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างข้อสอบวิเคราะห์และประเมินผลการเรียน เก็บไว้เป็นคลังข้อสอบเพื่อบริการแก่คณะครูอาจารย์งานทะเบียน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียน นักศึกษา เก็บข้อมูลประวัตินักเรียนและบุคลการ จัดทำบัญชีเงินเดือน การจัดทำตารางสอนของนักเรียนและอาจารย์ผู้สอนงานธุรการ ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการ จัดพิมพ์เอกสาร คำนวณตัวเลข หนังสือราชการ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และจัดทำเอกสาร แผ่นพับ ข่าวสาร ตำรา แผ่นใส โปสเตอร์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงานเอกสารของสถานศึกษา

ภาพประกอบ : http://jet-computing.com/wp-content/uploads/2011/08/Computer-lab.jpg
งานโสตทัศนศึกษา 
      เป็นศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ ด้านสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ

งานด้านการคลังและพัสดุงานการเงินการคลัง
      ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเงินเดือนของครู ลูกจ้างและบุคลากรในสถานศึกษา ตลอดจนรายรับรายจ่ายอื่นๆ

งานพัสดุ 
      ได้แก่ ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างฐานข้อมูล และทะเบียนพัสดุ คุรุภัณฑ์ของสถานศึกษา การรับ-จ่ายหรือเบิกจ่ายวัสดุ พัสดุอุปกรณ์ของโรงเรียน

งานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผนงานหลักสูตร (Curriculum Application)
      ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตร เช่น ผลการเรียน อัตราส่วนระหว่างผู้เรียนต่อครู

งานวิจัย (Research application) 
       ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บผลการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลทางสถิติต่างๆ เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา
งานวิเคราะห์งบประมาณ  ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์งบประมาณ หรือแผนงานประจำปี
ภาพประกอบ : http://www.enn.co.th/uploads/contents/20120228100858.jpg

งานด้านการบริหารงานทั่วไปงานธุรการ 
        เช่น พิมพ์หนังสือโต้ตอบ จัดเก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการ

งานพัฒนาวิชาชีพ 
        คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แก่ครู เพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอน

งานแนะแนวและบริการพิเศษ 
       ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเก็บรายงานผลการเรียน และพฤติกรรมผู้เรียน เป็นต้น

งานเกี่ยวกับผู้บริหารสถาบันการศึกษา
       คอมพิวเตอร์สามารถช่วยผู้บริหารสถาบันการศึกษาในการทำงานด้านต่างๆ เช่น การเก็บบันทึกข้อมูล และการควบคุมทรัพย์สินของสถาบัน

งานเกี่ยวกับการบริการพิมพ์เอกสารประกอบการเรียนการ
       เช่น การเตรียมโน้ตย่อ บทเรียนและการเตรียมแบบทดสอบ ฯลฯ งานด้านการคิดต่อคำนวณ เช่น การตรวจและการรวบรวมคะแนนงานด้านเอกสาร เช่น การเตรียมเอกสารประกอบการสอนและการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน และงานด้านการเตรียมบทเรียนและการจัดทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น


ภาพประกอบ :  http://www.ltsd.info/pic/computer5.gif

บทบาทของคอมพิวเตอร์ด้านการจัดการเรียนการสอน
              บทบาทคอมพิวเตอร์ด้านการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์กับการจัดการเรียนการสอน สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ

    1 คอมพิวเตอร์กับการจัดการเรียนการสอนทั่วไป คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บสถิติต่างๆ ตัวอย่างเช่น การเก็บสถิติของนักเรียนที่มาเข้าเรียน ผลการสอบในแต่ละภาค เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งครูสามารถใช้ข้อมูลสถิติที่ได้จากการประมวลผลนี้มาใช้วางแผนการสอน ตลอดจนปรับปรุงหลักสูตรได้ด้วย

    2 คอมพิวเตอร์กับการจัดการสอน (Computer Managed Insttruction หรือ CMI) คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอน เช่น การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ ในลักษณะห้องเรียนเสมือน หรือมหาวิทยาลัยเสมือน เป็นต้น

             การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์นี้ จำเป็นต้องสร้างระบบการจัดการ เช่น การลงทะเบียนเรียน มีรายวิชาให้เลือกเรียนและสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซด์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีระบบในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนและผู้สอน สามารถบันทึกจำนวนครั้งที่เข้าใช้ระบบ ระยะเวลาในการใช้ ผลสอบของผู้เรียน ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์สร้างระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยวางแผน การเรียนของผู้เรียนแต่ละคน และระบบการนำเสนอเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ        การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีความยุ่งยากในการจัดการสร้างระบบซึ่งต้อง ใช้เวลานาน ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายเนื้อหา เพื่อการจัดสร้างหลักสูตรที่สมบูรณ์ ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม แพร่หลายมากนัก แม้จะมีงานวิจัยจำนวนมากที่รายงานผลการวิจัยว่าการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย ได้ผลดี และบางครั้งผลการเรียนสูงกว่าการเรียนการสอนแบบปกติ แต่ผลงานวิจัยดังกล่าวเป็นงานวิจัยในต่างประเทศที่มีความพร้อมทางสังคม มีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานในการเรียนการสอนผ่านเว็บ สถานศึกษามีมาตรฐานใกล้เคียงกัน รวมทั้งผู้เรียนมีความรับผิดชอบทางการเรียนสูง ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยเป็นอย่างมาก        สำหรับประเทศไทยการเรียนการสอนผ่านเว็บน่าจะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ สามารถสนองนโยบายการขยายโอกาสได้เป็นอย่างดี แต่ในเรื่องคุณภาพยังเป็นที่กังขาของผู้สอน ผู้เรียน และสังคม อย่างไรก็ตาม การรับรู้และการเรียนรู้ของนักเรียนก็ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นเฉพาะในห้อง เรียนได้ทั้งหมดอีกต่อไป การสอนบนเว็บจึงเป็นทางเลือกใหม่ ที่มีคุณสมบัติทำให้ข้อจำกัดทางด้านเวลา ระยะทางและสถานที่หมดไป ช่วยเปิดประตูการศึกษาจากห้องเรียนไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้อันกว้างใหญ่ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆในสังคม การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ ส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป มนุษย์จำเป็นต้องมีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆมากขึ้น การแสวงหารูปแบบและวิธีการเรียนการสอนใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็น ทำให้คาดได้ว่าในไม่ช้านี้การเรียนการสอนแบบออนไลน์หรือการสอนบนเว็บจะกลาย เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ        การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องมีการ วิเคราะห์ลักษณะและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียน การสอนให้เหมาะสมแก่ผู้เรียน การใช้คอมพิวเตอร์จัดการสอนจะช่วยให้ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาในเรื่องความแตก ต่างระหว่างบุคคลได้โดยการจัดโปรแกรมการเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามความสามารถและความถนัดของตนเป็นการ จัดการศึกษารายบุคคลโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันหรืออาจเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับสื่อประเภทอื่นๆ เพื่อการเรียนรู้ให้ครบตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนที่ตั้งไว้ดังเช่น การใช้คอมพิวเตอร์จัดการสอนในโครงการเพลโต ซึ่งมีการใช้คอมพิวเตอร์จัดการสอนเพื่อใช้กับผู้เรียนโดยเป็นการใช้ที่ เสมือนหนึ่งผู้สอนสอนอยู่ในห้องเรียนและผู้สอนกับผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่ง กันและกันบทเรียนจะเริ่มต้นโดยการทดสอบผู้เรียนว่ามีความสามารถตามวัตถุ ประสงค์ที่ตั้งไว้แล้วหรือไม่ ถ้ามีความชำนาญในเรื่องนั้นแล้วก็ให้เรียนในบทต่อไปแต่ถ้ายังมีความรู้ไม่พอ ก็ต้องเรียนบทเรียนนั้นโดยเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมและครอบคลุมวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้ หลังจากนั้นจะมีการทดสอบเพื่อดูว่าผู้เรียนสามารถเรียนได้ครบตามวัตถุ ประสงค์นั้นหรือไม่ในขณะนี้การใช้คอมพิวเตอร์จัดการสอนยังมีความยุ่งยากอยู่ บ้างพอสมควร ถึงแม้ว่าในระยะเวลาที่ผ่านมาจะได้มีการพัฒนาทางด้านนี้และมีระบบจัดการสอน หลายระบบนำออกมาใช้ก็ตาม การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning เป็นการ เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่
ภาพประกอบ : http://4.bp.blogspot.com

แนวโน้มคอมพิวเตอร์ในอนาคต
               แนวโน้มในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอน โดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web ในการใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction : WBI) หรือ E-learning ซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง

ทีมา : http://www.thainame.net/weblampang/sutat101/index4.htm http://webcache.googleusercontent.com/search?