26.3.12

บทที่ 3 : เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการศึกษา



                "เครือข่ายสังคมออนไลน์"

    
                  แนวคิดเรื่อง (Social Network) หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ มักปรากฎให้เห็นในลักษณะของการนำมาใช้เพื่อดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ โดยมีตัวบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน แลกเปลี่ยนแบ่งปันทรัพยากร ข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ แต่ปัจจุบันคำว่า (Social Network) จะหมายถึงระบบเครือข่ายบนโลกออนไลน์ หรือการติดต่อสื่อสารถึงกันผ่านอินเทอร์เน็ตนั่งเอง Wikipedia (2009) ให้ความหมาย (Social Network) ว่า เป็นโครงสร้างสังคมที่ประกอบด้วยโหนด (Node) ต่างๆ เชื่อมต่อกัน ซึ่งแต่ละโหนดที่เชื่อมโยงกันก็อาจมีความสัมพันธ์กับโหนดอื่นๆ ด้วย โดยอาจมีระดับของความสัมพันธ์กัน มีความซับซ้อน มีเป้าหมาย


                        (Social Network) จึงหมายถึงการที่มนุษย์สามารถเชื่อมโยงถึงกัน ทำความรู้จักกัน สื่อสารถึงกันได้ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็นเว็บ (Social Network) ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่งเอง โดยเว็บไซต์เหล่านี้จะมีพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามารู้จักกัน มีการให้พื้นที่ บริการเครื่องมือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเครือข่าย สร้างเนื้อหาตามความสนใจของผู้ใช้ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ประเภท (Social Network) เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งที่มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์ และไม่แสวงหากำไร เช่น Wikipedia โดย 10 อันดับเว็บไซต์ (Social Network) ยอดนิยม คือ mySpace.com, faceBook.com, orkut.com, hi5.com, vkontakte.ru, Friendster.com, SkyRock.com, PerfSpot.com, bebo.com และ studivz.net (พฤษภาคม 2551) และที่สำคัญสื่อแทบทุกแขนงได้รายงานให้ทราบในเช้าวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 ถึงอดีตนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ได้ติดต่อสื่อสารกัน โดยมีการอวยพรวันเกิดครบรอบ 60 ปี ของอดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข่าวที่ฮือฮามาก โดยผ่านสังคมเครือข่ายออนไลน์ที่ชื่อ ทวิตเตอร์ (Twitter) ซึ่งผู้เขียนจะได้เขียนให้เพื่อนสมาชิกในฉบับหน้า จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสังคมเครือข่ายออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในด้านการเมืองแล้ว
    
                 

                      (Social Network) ในที่นี้หมายถึงเฉพาะที่เป็นแบบ Online ที่สมัครสมาชิกกันได้ฟรีๆ แล้วก็ส่ง Message ผ่านทาง Instant Message หรือ E-mail ไปชักชวนคนอื่นมา Connect ด้วย เมื่ออีกฝ่ายดูประวัติคนส่งแล้ว เกิดความสนใจก็ Connect กลับ การได้เพื่อนแบบนี้ นอกจากจะได้รู้จักคนที่ Connect กันโดยตรงแล้วยังสามารถ Connect กับเพื่อนของเพื่อนนั้นได้อีกด้วย จะ Connect ไปได้กี่ชั้นก็แล้วแต่ขอบเขตการบริการของผู้ให้บริการนั้น
    
                  
    
                   ถ้าไม่อยากข้องเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้ก็ต้องเลือกเครือข่ายที่ให้บริการด้าน ธุรกิจ เช่น ecademy.com เป็นต้น ในนั้นสมาชิกจะแสดง Profile ของตนไว้ พร้อมทั้งเขียน Tag ระบุคุณสมบัติของตัวเอง ของธุรกิจ หรือของสินค้าบริการที่มานำเสนอ เมื่อคนอื่นในเครือข่าย Search พบแล้วติดต่อมา ก็จะมีการ Add Contact พูดคุยกันทางกล่อง Message ในเว็บไซต์ Instant Message อย่าง Skype, MSN, Yahoo หรือ E-mail เป็นการเริ่มต้นสานความคิดและเครือข่ายทางธุรกิจ หรือต่อขาธุรกิจออกไปในกลุ่มนักธุรกิจหรือผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจ นักลงทุน นายธนาคาร นักประดิษฐ์คิดค้น คนให้คำปรึกษา ที่มาพบกันในนั้น มีการแนะนำต่อๆ กัน เป็นการแสวงหาและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งถ้าทำอย่างมืออาชีพจะเป็นช่องทางในการประกอบอาชีพ หรือเป็นเจ้าของธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว


    
                  ของฟรีไม่มีในโลกฉันใด บริการที่สร้างโอกาสให้กับสมาชิกก็ย่อมต้องมีการลงทุนบ้างฉันนั้น ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Network นี้จะมีการเก็บค่าสมาชิกตามระดับความได้เปรียบในการเข้าถึงข้อมูลของสมาชิกในกลุ่ม ยิ่ง Upgrade สูงเท่าไรก็มีโอกาสได้พบปะนักธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น แถมยังมีสิทธิพิเศษ ได้รับส่วนลดในการร่วมประชุม พบปะสังสรรค์ ฟังอบรม สัมนาที่ผู้ให้บริการร่วมกับสมาชิกผู้มีคุณวุฒิที่ได้รับเชิญมาบรรยายอีกด้วย


    
                  อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้ในโลกอินเทอร์เน็ตรูปแบบของเว็บไซต์ที่เป็น Social Network ได้มีเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งหากถามว่าเว็บไซต์ในรูปแบบของ Social Network คืออะไรก็คงต้องบอกง่ายๆ ว่า ก็คือเว็บไซต์ที่คุณสามารถ "สร้าง" ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนได้ผ่านเว็บไซต์ในรูปแบบเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายจาก "เพื่อนสู่เพื่อน" ซึ่งหากอธิบายแบบนี้อาจจะมองเห็นภาพได้ยากหน่อย แต่หากยกตัวอย่างเว็บไซต์ เช่น www.hi5.com ที่โด่งดังมากในกลุ่มวัยรุ่น (และไม่รุ่น) ของเมืองไทย, www.facebook.com ที่คนฝั่งสหรัฐอเมริกาใช้กันฮิตถล่มทลายตอนนี้, หรือแม่แต่ www.twitter.com ที่กำลังเป็นที่สนใจของนักท่องเว็บของเรา เป็นระบบ Micro Blog ที่คุณสามารถบอกให้เพื่อนคุณรู้ว่า "คุณกำลังทำอะไรอยู่ตอนนี้" ซึ่งกำลังเป็นบริการออนไลน์อันใหม่ ที่มาแรงมาในตอนนี้ ซึ่งผู้เขียนจะขอไปเขียนในฉบับหน้าครับ


    
                  ทั้งหมดที่อธิบายมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ Social Network ขอเรียกแบบไทยๆ ว่า "โครงข่ายความสัมพันธ์" ที่กำลังฮิตติดลมบนแซงหน้าเว็บไซต์รูปแบบเดิมๆ ในปัจจุบันนี้ และต้องยอมรับว่า หลังจากเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ได้รับความนิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ก็มีนักพัฒนาเว็บไซต์ในรูปแบบนี้ออกมามากมาาย จนคนใช้ๆ แทบไม่ทันเลยทีเดียว ซึ่งเวลาจะใช้แต่ละบริการของเว็บไซต์ Social Network ก็ต้องมาคอยเข้าไปแต่ละเว็บไซต์และต้องคอยจำ User และ Password ของแต่ละเว็บไซต์ซึ่งมีมากมายเต็มไปหมด 

 



Web social network ช่วยจัดการความรู้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร


1. ช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ทำได้อย่างกว้างขวาง และสามารถจำกัดหรือขยายขนาดของเครือข่ายสังคม ตั้งแต่ระดับกลุ่ม ไปจนถึงระดับประเทศ ระดับสากลทั่วโลกได้ 

2. เปิดโอกาสให้เข้าถึงและร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้ง่ายและสะดวกกว่า ไม่ว่าจะมาเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมถ่ายทอดความรู้ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการรับความรู้ไปใช้ หรือเป็นทั้งสองทิศทาง
3. การเข้าร่วมในเว็บเครือข่ายสังคม มักเป็นความสมัครใจของสมาชิกเอง ทำให้สมาชิกเต็มใจ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในเครือข่ายสังคม
4. เว็บเครือข่ายสังคม จะลบภาพของลำดับตำแหน่งหน้าที่ ความอาวุโสทางโครงสร้างองค์กรออกไป แล้วอยู่ร่วมกันโดยอาศัยความเคารพในองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความคิดเห็น เป็นเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นส่วนดีที่สำคัญ ที่จะหันมาพิจารณาที่ตัวสาระขององค์ความรู้ แทนยศถาบรรดาศักดิ์ เปิดโอกาสให้ทุกคนกล้าที่จะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ได้อย่างเต็มที่ เปิดมุมมองหลากหลายใหม่ๆ
5. การนำคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยนและตรวจสอบองค์ความรู้นั้นร่วมกับผู้เชี่ยวชาญบุคคลอื่นๆ ในวงกว้าง เพื่อปรับองค์ความรู้ที่มีอยู่ ให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
6. สามารถสนทนาโต้ตอบ แลกเปลี่ยนทัศนะมุมมององค์ความรู้นั้นๆ กับผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงชั้นนำได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น โดยที่ในชีวิตจริงอาจจะแทบเป็นไปไม่ได้
7. เว็บเครือข่ายสังคม ทำให้มีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างสม่ำเสมอ จนสร้างความรู้สึกผูกพันเป็นมิตร ความไว้วางใจระหว่างกัน ที่จะช่วยให้เกิดความตั้งใจและใส่ใจต่อการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
8. เราสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจได้ไปจนถึงที่มา แนวคิด กระบวนการวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา หรือแม้กระทั่งรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้เชี่ยวชาญ และสมาชิกในสังคมได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกลั่นกรององค์ความรู้แต่ละชิ้นให้เข้าใจได้ลึกซึ้งและมีความบริสุทธิ์ถูกต้องได้ดีขึ้น
เราสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกในเว็บเครือข่ายสังคม ที่เรามีความชำนาญหรือสนใจเรียนรู้ได้ เช่น อาจเข้าร่วมในชุมชนนักปฏิบัติของกลุ่มผู้ใช้ iPhone, BlackBerry, Windows, Apple, Cisco, Oracle, CMS, ฯลฯ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์องค์ความรู้ระหว่างกัน โดยภายในชุมชนนั้นอาจมีทั้ง ผู้วิจัยและพัฒนา ผู้ผลิต ผู้เชี่ยวชาญ วิศวกรระบบ ผู้ชำนาญการใช้ ผู้ใช้ระดับกลาง และระดับต้น จนถึงมือใหม่หัดใช้ จากทั่วโลกได้แทบทั้งสิ้น  และเรายังสามารถเข้าร่วมในเครือข่ายสังคมอื่นๆ ได้อีก เช่น ในหนึ่งคนอาจเป็นสมาชิกได้ทั้ง ชุมชนผู้ใช้ iPhone, สมุนไพรหมอชาวบ้าน, ยาและสุขภาพ, เศรษฐศาสตร์และการเมือง, ธรรมะ, กีฬาและสันทนาการ โดยที่แต่ละชุมชนก็ล้วนมีผู้เชี่ยวชาญหลายระดับเช่นเดียวกัน
การที่คนที่สนใจในเรื่องราวเดียวกันยินดีมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม โดยอาศัยเทคโนโลยีเว็บ 2.0 จึงก่อให้เกิดเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่เป็นทั้งเครื่องมือ เป็นทั้งกิจกรรม ที่ช่วยจัดการความรู้ได้อย่างดียิ่ง
ปัจจุบันนี้เราก็เริ่มได้เห็น สังคมแห่งการเรียนรู้ ในแขนงต่างๆ มากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในแทบทุกสาขาวิชาชีพ จัดเก็บอย่างเป็นระบบ สืบค้นได้  และในบางชุมชนนอกจากมีกิจกรรมระหว่างกันภายในเว็บแล้ว ยังต่อยอดลุกลามออกมาร่วมทำกิจกรรมกันถึงในสังคมชีวิตจริงๆ อีกด้วย เช่น ร่วมกันทำหนังสือ ตำรา คู่มือ ทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ช่วยเหลือให้ความรู้แก่สังคม ออกค่ายหรือจัดอบรมสัมมนากันอย่างจริงจัง ในองค์ความรู้ที่ได้จากการรวบรวม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสมาชิกในชุมชนกันเอง
กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ก็จะยิ่งช่วยขยายผลของการจัดการความรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น จากระดับกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติเล็กๆ ขยายสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีชีวิต มีความเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ นั่นคือการจัดการความรู้ที่แท้จริง  เพราะความรู้นั้นไม่เคยหยุดนิ่ง


บทบาทของ Social network ต่อการจัดการในชั้นเรียน




ด้วยลักษณะสำคัญของ Social network คือ การมีปฏิสัมพันธ์ของคนในระบบเครือข่าย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่เมื่อมีปริมาณจำนวนคนในเครือข่ายจำนวนมากจะนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมจริงได้   รูปข้างล่างแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
                     หากจะจำแนกลักษณะของ Social network ที่ถูกนำเสนอผ่านทาง Social media สามารถสรุปได้ดังนี้คือ
1)      การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือภายในเครือข่าย โดยผู้ใช้สร้างโปรไฟล์ของตนเอง และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น facebook, Myspace เป็นต้น
2)      การเผยแพร่ความรู้ความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะอยู่ในลักษณะของเว็บบล็อกต่างๆ
3)      การเผยแพร่ข้อความสั้น เช่น twitter เป็นต้น
4)      การเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่างๆ เช่น เว็บ wikipedia
5)      การเผยแพร่เนื้อหาเฉพาะ การเผยแพร่ภาพ เสียง วีดิโอ เช่น เว็บ youtube , Flickr เป็นต้น
ด้วยความหลากหลายของการเผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้จำนวนมาก เป็นผลให้มีการนำ Social network ไปใช้ในงานต่างๆ และที่เห็นผลเป็นรูปธรรมมาก เช่น ในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาของบารัก โอบามา ซึ่งสามารถสร้างกระแสนิยมได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสำคัญในหลายประเทศ เช่น ประเทศซีเรีย อียิปต์ หรือแม้กระทั่งการก่อการจราจลในประเทศอังกฤษ  Social network ถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะเดียวกันเหตุการน้ำท่วมของประเทศไทย เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดย twitter ซึ่งช่วยให้ผู้ต้องการความช่วยเหลือและผู้ให้ความช่วยเหลือติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว เพียงการใช้แท็ก (tag) ร่วมกัน หรือการเผยแพร่ข้อมูลต่อๆ กันไป
                      ด้วยข้อมูลจำนวนมากที่ถูกนำเสนอในเครือข่ายสังคมออนไลน์หากนำมาสู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนย่อมก่อให้เกิดผลสำคัญในหลากหลายลักษณะเช่นกัน เช่น



1) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสังคมในชั้นห้องเรียน เนื่องจากบรรยากาศของเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารผ่านภายมิติความสัมพันธ์ของคนในเครือข่าย ด้วยเหตุนี้เมื่อทั้งผู้สอนและผู้เรียนเข้าสู่การสร้างความสัมพันธ์ภายในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็จะนำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ในสังคมจริงในทิศทางที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจริง นอกจากนี้ลักษณะการนำเสนอข้อมูล สถานภาพที่เป็นปัจจุบัน ทำให้ทั้งผู้สอนสามารถติดตามพฤติกรรมและประสานข้อมูลได้อย่างทันท่วงที





2) การกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่กว้างวาง การตั้งประเด็นแลกเปลี่ยน ข้อสงสัยต่างๆ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทำได้อย่างทันท่วงที และเป็นเครื่องมือสำหรับผู้สอนในการกระตุ้นผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันผู้สอนสามารถนำเสนอเนื้อหาใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและผู้เรียนสามารถติดตามได้อย่างต่อเนื่อง
3) การส่งเสริมการศึกษาตามความสนใจและความถนัด เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของเว็บบล็อกเป็นระบบที่ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานตามความถนัดและความสนใจของทั้งผู้สอนและผู้เรียน อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนขยายผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) การส่งเสริมการบันทึกและการอ่าน การเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ผ่านรูปแบบของข้อเขียนในหลายลักษณะ เช่น ข้อความสั้นในระบบ twitter ข้อความปานกลางของเว็บ facebook หรือข้อความยาวๆ ของระบบเว็บบล็อก เป็นต้น
                             ในขณะเดียวกันเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็มีข้อเสียที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เรียนที่อาจจะมีความจำเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น
           1) การใช้งานเพื่อความบันเทิง เกมมากกว่าการศึกษาค้นคว้า ทั้งนี้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่นใน facebook จะประกอบด้วยเกมต่างๆ มากมาย และส่วนใหญ่ต้องการใช้เวลาในการเล่นที่ต่อเนื่อง
           2) ความจำเป็นของอุปกรณ์การสื่อสาร ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่อง และหากผู้สอนใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการนำเสนอข้อมูลไปยังผู้เรียนเป็นหลักอาจจะก่อให้การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลของผู้เรียนได้
           3) การรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการขาดวิจารณญาณในการข้อมูล ทั้งนี้เมื่อผู้เรียนเข้าสู่การเรียนรู้ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ แหล่งการรับข้อมูลจะไม่สามารถจำกัดไว้เพียงจากผู้สอนเท่านั้น ซึ่งจำเป็นที่ผู้สอนจะต้องย้ำถึงแนวทางการตรวจสอบข้อมูลให้กับผู้เรียน
          4) การขาดวิจารณญาณในการนำเสนอข้อมูล เนื้อหาของผู้เรียน ด้วยความสะดวก รวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะพบว่า หลายครั้งทำให้หลายคนขาดความยั่งคิดในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ภาพหรือเหตุการณ์ต่างๆ และนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา
แนวปฏิบัติเพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในชั้นเรียน
เมื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อด้อย แต่เป็นการยากที่ผู้สอนจะปฏิเสธการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ ด้วยเหตุนี้ผู้สอนควรมีแนวปฏิบัติสำคัญเพื่อให้การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ ดังนี้
1)      ควรศึกษาธรรมชาติของระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่จะนำมาใช้อย่างชัดเจน
2)      ควรศึกษาความพร้อมของผู้เรียนในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
3)      เป็นต้นแบบที่ดีในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
4)      ติดตามพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
5)      สร้างเครือข่ายผู้สอนและผู้ปกครองเพื่อประสิทธิภาพของการดูแลผู้เรียนในเครือข่ายสังคมออนไลน์
อ้างอิง
จุไรรัตน์  ทองคำชื่นวิวัฒน์. 2009. เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network). จากเว็บไซด์ http://ngnforum.ntc.or.th/index.php?option=com_content& task=view&id=76&Itemid=1
Antony Mayfield. 2008. What is Social Media? . จากเว็บไซด์ http://www.icrossing .co.uk/fileadmin/uploads/eBooks/What_is_Social_Media_iCrossing_ebook.pdf
เว็บไซด์ http://thumbsup.in.th


ที่มา : http://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=595
         :จารุวัจน์ สองเมือง. 2554. เครือข่ายสังคมออนไลน์กับห้องเรียน. จากเว็บไซด์ muallimthai.com