14.12.12

วิเคราะห์สื่อการสอนของตนเอง

     คำอธิบายรายวิชา
รายวิชา อาหารไทย จัดอยู่ในกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี  เป็นรายวิชาที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการทำอาหาร เพื่อทำรับประทานในครอบครัว ทำอาหารไทยจำหน่ายด้วยเห็นคุณค่า โดยสามารถปฏิบัติงานได้ตามกระบวนการทำงาน ทำงานด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด และมุ่งมั่น อดทนในการทำงาน ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างคุ้มค่า และถูกวิธีใช้แนวคิดใหม่ ๆ ในการทำงาน นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน ทำงานอย่างมีความสุข ผลงานมีคุณภาพ มีการประเมินผลการทำงาน และปรับปรุงงาน
            ในการศึกษาและการทำงาน ผู้เรียนจะต้องได้รับการฝึกฝนตามกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยีดังนี้
1.      ความหมายของงาน
2.      ความสำคัญและประโยชน์ของงาน
3.      มีทฤษฎีสนับสนุนหลักการของงาน
4.      วิธีการและขั้นตอนของการทำงาน
5.      กระบวนการทำงาน การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และแนวในการประกอบอาชีพ
6.      การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการ          หาวิธีการใหม่ๆ
7.      คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมในการทำงานและประกอบอาชีพ

เพื่อให้ผู้เรียนทำงานบนพื้นฐานของความเข้าใจ  ความหมาย  ความสำคัญ และประโยชน์
วิธีการ และขั้นตอนการทำงาน ที่รับผิดชอบ การจัดการและการใช้เทคโนโลยี  ตลอดจนการปลูกฝังนิสัยรักการทำงานและปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

และความสำคัญก็เพราะ อาหารเป็นปัจจัยหนึ่ง ในปัจจัย 4 ที่สำคัญมาก ต่อการดำรงชีวิต ฉะนั้นผมจึงคิดว่าทุกคน ควรที่จะทำอาหารเป็น ไม่ต้องถึงกับเก่ง แต่ต้องทำแล้วรับประทานได้ ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผมจึงคิดทำสื่อในการเรียนการสอน ในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ ในเรื่อง "Basic Cooking" หรือความรู้พื้นฐานในการทำอาหาร ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยเนื้อหาในการเรียนรู้นั้น จะจัดอยู่ในรายวิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเป็นวัยที่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะใช้ของมีคมหรือการใช้เตาแก๊ส และหากผู้เรียนชอบก็สามารถที่จะตัดสินใจต่อยอดไปยังสายอาชีพ ในระดับชั้นต่อไปได้ ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวการเตรียมอาหาร การเลือกซื้อวัตถุดิบ การโภชนาการและอื่นๆ

             โดยสื่อชิ้นนี้จะนำเสนอในรูปแบบ Linear Program คือ หลักการออกแบบบทเรียนเส้นตรง โดยจะเป็นไปตามลำดับขั้นความยากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งก็จะมี เนื้อหา รูปภาพ และคำถามเพื่อวัดความเข้าใจหรือวัดประเมินผล เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลตอบกลับ ที่ผู้เรียนจะทราบได้ด้วยตนเอง